วิธีที่ Beach House ใช้ความนิยมในวงกว้างเพื่อผลักดันให้ผลงานใหม่ของวงเป็นกระแส
ทีมงาน Beach House ที่ Sub Pop Records ใช้ Marquee ซึ่งเป็นเครื่องมือแนะนำผลงานใหม่ของศิลปินแบบเต็มหน้าจอที่ได้รับการสนับสนุน เพื่อโปรโมตอัลบั้มใหม่และสร้างผลลัพธ์ในแง่ดีให้กับผลงานทั้งหมด
ช่วงเวลาที่เป็นกระแสบนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นมีลักษณะแพร่กระจายออกไปอย่างกว้างไกล แต่ชัยชนะที่แท้จริงคือการเปลี่ยนช่วงการเป็นกระแสบนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นให้เป็นความสำเร็จที่ยั่งยืน ลองถาม Jon Strickland รองประธานฝ่ายขายแห่ง Sub Pop Records และทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่สำคัญของวงอินดี้อย่าง Beach House ดูสิ หลังจากเกิดกระแสบนโลกอินเทอร์เน็ตอันน่าตกตะลึงกับเพลง “Space Song” ของวงในปี 2015 ทำให้ Strickland มีโอกาสที่ดีในการต่อยอดกระแสขาขึ้นให้กับสตูดิโออัลบั้มชุดที่แปดของวงที่ชื่อว่า Once Twice Melody
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2021 เพลง “Space Song” ได้รับความนิยมบนโซเชียลมีเดียในลักษณะที่แสดงการประชดประชันเชิงดราม่าที่เน้นเล่นใหญ่เหมือนละคร (“ผมคิดว่า [วิดีโอแรกที่มี] ใครคนหนึ่งกำลังร้องไห้ เพราะเขาทำนมหกขณะกำลังเทซีเรียลอะไรทำนองนั้น แล้วก็แสดงปฏิกิริยาเล่นใหญ่แบบนี้ออกมา” Strickland กล่าว) ผู้ฟังหน้าใหม่ที่ค้นหาวง Beach House หลังจากได้ฟังเพลง “Space Song” ต่างตื่นเต้นที่จะได้ฟังดนตรีแนวเหนือจริงของวง “นี่เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์มาก และเห็นได้ชัดว่ามีแฟนๆ หน้าใหม่จำนวนมาก แฟนๆ ที่เป็นเด็กจำนวนมาก… ผู้คนได้ยินและชอบเพลงนี้ จากนั้นก็อยากรู้จักวงมากขึ้น” Strickland กล่าว
เมื่อถึงเวลาปล่อยอัลบั้มใหม่ล่าสุดที่ชื่อว่า Once Twice Melody ของวงออกมา Strickland ก็ต้องการที่จะสร้างกระแสบนโลกอินเทอร์เน็ตแบบเดียวกันนั้นเพื่อสร้างแฟนพันธุ์แท้โดยเริ่มจากผลงานใหม่ของวง ทางวงเลือกใช้กลยุทธ์วอเตอร์ฟอลกับอัลบั้มใหม่ที่มี 18 แทร็กนี้ โดยแยกการปล่อยผลงานออกเป็นสี่บทในช่วงสี่เดือน บทแรกสุดจะให้อารมณ์แบบภาพยนตร์ ราวกับการชมฉากแรกในหนัง “ศิลปินอย่าง Beach House และ [เพื่อนศิลปินในค่าย Sub Pop] Father John Misty… พวกเขาวางแผนเกี่ยวกับอัลบั้ม” Strickland อธิบาย การปล่อยผลงานนออกมาทีละบท “เป็นลักษณะงานแบบมีธีมซึ่งถูกใจ Beach House”
เนื่องจากมีแทร็กใหม่ๆ มากมายและผู้ฟังที่ "เพิ่มมากขึ้นเป็นสามเท่า" นับจากอัลบั้มล่าสุดของวง Strickland กล่าวว่าทีมงาน Beach House ต้องการวิธีเจาะไปยังกลุ่มผู้ฟังที่เฉพาะเจาะจง และกระตุ้นให้ผู้ฟังกลุ่มนั้นฟังเพลงอื่นนอกเหนือจากเพลงนั้นเพลงเดียวด้วย เมื่อ Beach House เริ่มปล่อยอัลบั้มใหม่ Strickland จึงใช้ Marquee กับสองบทแรก (รวมทั้งหมด 8 แทร็ก) เพื่อกระตุ้นยอดสตรีมที่ผู้ใช้เป็นคนเลือกเองจากผู้ฟังที่มีโอกาสจะกลายเป็นแฟนตัวยง
ทีมงานเริ่มต้นแคมเปญเพื่อเข้าถึงผู้ฟังสองกลุ่มหลัก ได้แก่ 1) ผู้ฟังที่หายไปซึ่งไม่ได้เลือกสตรีมผลงานของ Beach House ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา และ 2) ผู้ฟังทั่วไปที่เลือกสตรีมเพลงของวงในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา แต่น้อยกว่าผู้ฟังประเภทอื่น เมื่อมีผู้ฟังทั้งสองกลุ่ม พวกเขาจึงสามารถเข้าถึงผู้ฟังที่สตรีมผลงานของวงอันเป็นผลมาจากความสำเร็จของเพลง “Space Song” ซึ่งเป็นกระแสไปทั่วโลกอินเทอร์เน็ตมากกว่าหกเดือนก่อนหน้านี้ได้ “[กลยุทธ์สำหรับ Marquee] จำนวนมากเป็นการเชื่อมโยงผู้ฟังที่ฟังเพลงเดียวเข้ากับแคตตาล็อกที่กว้างขึ้นและเพลงใหม่ๆ” Strickland อธิบาย
Beach House กระตุ้นกลุ่มผู้ฟังที่หายไปให้กลับมาฟังเพลงทั้งเก่าและใหม่ของวงในสหรัฐอเมริกา และผู้ฟังที่หายไปแต่ละรายที่ได้มีส่วนร่วมกับ Marquee มียอดสตรีมผลงานใหม่แปดครั้งโดยเฉลี่ย นอกจากนี้ 20% ของผู้ฟัง Marquee ยังสตรีมผลงานก่อนหน้านี้อีกด้วย โดยมียอดสตรีมเฉลี่ยเก้าครั้งต่อผู้ฟังหนึ่งราย
ในแคนาดา ทางวงกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ฟังทั่วไป ผลที่ได้คืออัตราความสนใจสำหรับผลงานใหม่อยู่ที่ 24% ซึ่งหมายความว่าผู้ฟัง Marquee เกือบหนึ่งในสี่บันทึกและเพิ่มแทร็กลงในเพลย์ลิสต์ส่วนตัว และมียอดสตรีมผลงานก่อนหน้าของวงอยู่ที่เจ็ดครั้งต่อผู้ฟังหนึ่งราย
Strickland กล่าวถึงการเข้าถึงผู้ฟังด้วย Marquee ว่า “นี่เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด บางคนจะได้รับแจ้งเตือนในโทรศัพท์ให้รู้ว่า ‘โอ้ [Beach House] ออกผลงานใหม่นี่’ ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ ที่ผู้ฟังจะกดเข้าไปดูและค้นพบเพลงใหม่ ผมนึกไม่ออกเลยจริงๆ ว่าจะมีอะไรมาเทียบได้ จากนั้น การเกิดผลลัพธ์ในแง่ดี [ต่อแคตตาล็อกของศิลปิน] ซึ่งเป็นโบนัสที่เพิ่มเข้ามาที่เราเห็นได้จากแคมเปญเหล่านี้ก็ช่างเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมจริงๆ”
จากความสำเร็จของแคมเปญ Marquee ของ Beach House ส่งผลให้ Strickland และทีมงานที่ Sub Pop ตัดสินใจลงเดิมพันเป็นสองเท่ากับผลงานใหม่ของศิลปินรายถัดไปของค่าย โดยการเพิ่มงบประมาณมากขึ้นถึง 500% “สำหรับ Father John Misty เราได้จัดสรรงบประมาณก้อนใหญ่มากขึ้นให้กับ Marquee เราวางแผนจะใช้ Marquee กับซิงเกิลทางวิทยุที่จะออกมาในช่วงต้นเดือนมีนาคมซึ่งชื่อว่า ‘Goodbye Mr. Blue’ และเราจะใช้ Marquee กับซิงเกิลนั้น และเราน่าจะใช้ Marquee กับซิงเกิลอื่นที่ตามมาจนกระทั่งครบทั้งอัลบั้ม เรามีงบประมาณก้อนที่ใหญ่ที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัยที่ Sub Pop ได้จัดสรรให้กับ Marquee จากผลลัพธ์ที่เราได้เห็นของ Beach House” Strickland กล่าว
ผลลัพธ์ในแง่ดีซึ่งผู้ฟังที่มีส่วนร่วมกับ Marquee มีแนวโน้มจะสตรีมจากผลงานก่อนหน้ามากขึ้นถึง 3 เท่า ถือว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษต่อ Sub Pop “เราภูมิใจกับแคตตาล็อกของเรามาก และเมื่อเรามีอัลบั้มใหม่จาก Beach House หรือ Father John Misty เราก็ต้องการสร้างแฟนเพลงหน้าใหม่ให้กับวงดนตรีเหล่านั้น และเราต้องการให้แฟนๆ ได้ฟังเพลงจากอัลบั้มเก่าๆ ด้วย สิ่งที่ Sub Pop กำลังทำก็คือการพยายามสร้างฐานผู้ฟังให้กับศิลปินเหล่านี้นั่นเอง” Strickland กล่าว
Once Twice Melody เป็นอัลบั้มแรกของ Beach House ที่ขึ้นอันดับ 1 ในชาร์ต Top Album Sales ของ Billboard และยังขึ้นสู่อันดับ 1 ในชาร์ต US Top Rock และ Alternative Albums อีกด้วย
เริ่มต้นใช้งาน Marquee
เรายินดีที่จะแชร์ข้อมูลล่าสุดให้กับทุกคน ในระหว่างการเปิดตัว Marquee ไปทั่วโลก ซึ่งตอนนี้พร้อมให้บริการแก่ศิลปินทุกคนที่เข้าเกณฑ์ในทีมสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร เรียนรู้เพิ่มเติมได้ในคู่มือการเริ่มต้นใช้งาน Marquee และดูข้อมูลอัปเดตได้บนเว็บไซต์
หากคุณสนใจที่จะใช้ Marquee เพื่อกำหนดเป้าหมายผู้ฟังในตลาดทั้งสามสิบหกแห่ง ซึ่งรวมถึงบราซิล ฝรั่งเศส เยอรมนี เม็กซิโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และคุณมีผลงานใหม่ที่เข้าเกณฑ์ ก็ทำผ่านแดชบอร์ด Spotify for Artists ได้เลย ดูรายชื่อการกำหนดเป้าหมายของ Marquee ทั้งหมดได้ที่นี่ หากทีมของคุณอยู่ในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย หรือสหราชอาณาจักร แต่ไม่เห็นแท็บแคมเปญ ให้ตั้งค่าประเทศสำหรับการเรียกเก็บเงินของคุณเป็นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย หรือสหราชอาณาจักรเพื่อร่วมใช้เวอร์ชันเบต้า
หากต้องการกำหนดเป้าหมายผู้ฟังในตลาดข้างต้นด้วยความช่วยเหลือจากตัวแทนในพื้นที่ของเรา โปรดส่งข้อมูลของคุณที่นี่
Spotify for Artists ช่วยคุณพัฒนาฐานแฟนที่คุณต้องการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย